
เครื่องดนตรีไทยคือ สิ่ง
เครื่อง |
|
![]() กระจับปี่ |
เครื่องดีดเครื่องดีดทุกอย่างจะต้องมีส่วนที่เป็นกระพุ้งเสียง บางทีก็เรียกว่า กะโหลก สำหรับทำให้ เสียงที่ดีดนั้นก้องวานดังขึ้นอีก เครื่องดีดของไทยที่ใช้ในวงดนตรีแต่โบราณเรียกว่า “พิณ” ซึ่งมาจากภาษาของชาวอินเดียที่ว่า “วีณา” ในสมัยหลังๆ ต่อมาจึงบัญญัติชื่อเป็นอย่างอื่น ตามรูปร่างบ้าง ตามภาษาของชาติใกล้เคียงบ้าง เช่น”กระจับปี่” ซึ่งมีกระพุ้งเสียงรูปแบน ด้านหน้าและด้านหลัง กลมรี คล้ายรูปไข่ มีคันต่อยาวเรียวขึ้นไป ตอนปลายบานและงอนโค้งไปข้างหลังเรียกว่า ทวน มี สายทำด้วยเอ็นหรือไหม ๔ สาย ขึงผ่านหน้ากะโหลกตามคันขึ้นไปจนถึงลูกบิด ๔ อัน ผูกปลาย สายอันละสาย มีนมติดตามคันทวนสำหรับกดสายลงไปติดสันนม ให้เกิดเสียงสูงต่ำตามประสงค์ ผู้ดีดต้องนั่งพับเพียบทางขวา วางตัวกระจับปี่ (กะโหลก) ลงตรงหน้าขาขวา กดนิ้วตามสายด้วยมือ ซ้าย ดีดด้วยมือขวา รูปกระจับปี่ (หรือพิณ) ของไทยมีลักษณะดังในภาพ |
เครื่องดีดของไทยที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันก็คือ “จะเข้” จะเข้เป็นเครื่องดีดที่วางนอนตามพื้นราบ ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงภายใน ไม้แก่นขนุนเป็นดีที่สุด ด้านล่างมีกระดานแปะเป็นพื้นท้อง เจาะรูระบายอากาศพอสมควร มีเท้าตอนหัว ๔ เท้า ตอนท้าย ๑ เท้า รวม เป็น ๕ เท้า มีสาย ๓ สาย สายเอก (เสียงสูง) กับสายกลางทำด้วยเอ็นหรือไหม สายต่ำสุด ทำด้วย ลวดทองเหลืองเรียกว่า สายลวด ขึงจากหลักตอนหัวผ่านโต๊ะและนม ไปลอดหย่อง แล้วพันกับ ลูกบิดสายละลูก มีนมตั้งเรียงลำดับบนหลัง ๑๑ นม สำหรับกดสายให้แตะเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการ การดีดต้องใช้ไม้ดีดทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เหลากลม เรียวแหลม ผูกพันติดกับนิ้วชี้ มือขวา ดีดปัดสายไปมา ส่วนมือซ้ายใช้นิ้วกดสายตรงสันนมต่างๆ ตามต้องการ |
เครื่องสีเครื่องดนตรีที่ต้องใช้เส้นหางม้าหลายๆ เส้นรวมกัน สีไปบนสายซึ่งทำด้วยไหมหรือเอ็นนี้ โดยมากเรียกว่า “ซอ” ทั้งนั้น ซอของไทยที่มีมาแต่โบราณก็คือ “ซอสามสาย” ใช้บรรเลงประกอบ ในพระราชพีธีสมโภชต่างๆ ซอสามสายนี้ กะโหลกสำหรับอุ้มเสียง ทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางให้เหลือพูทั้งสามอยู่ด้านหลัง ขึงหน้าด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว มีคัน (ทวน) ตั้งต่อจากกะโหลก ขึ้นไปยาวประมาณ ๑.๒๐ เมตร ทำด้วยงาช้างหรือไม้แก่น กลึงตอนปลายให้สวยงาม มีลูกบิดสอด ขวางคันทวน ๓ อัน สำหรับพันปลายสาย เร่งให้ตึง หรือหย่อนตามต้องการ มีทวนล่างต่อลงไป จากกะโหลก กลึงให้เรียวเล็กลงไปจนแหลม เลี่ยมโลหะตอนปลาย เพื่อให้แข็งแรงสำหรับปักลงกับ พื้น สายทั้งสามนั้นทำด้วยไหมหรือเอ็น ขึงจากทวนล่างผ่านหน้าซอซึ่งมีหย่องรองรับขึ้นไปตามทวน และร้อยเข้าในรู ไปพันลูกบิดสายละอัน ส่วนคันชักหรือคันสีนั้น ทำคล้ายคันกระสุน ขึงด้วยเส้น หางม้าหลายๆ เส้น สีไปมาบนสายทั้งสามตามต้องการ สิ่งสำคัญของซอสามสายอย่างหนึ่ง คือ “ถ่วงหน้า” ถ่วงหน้านี้ ทำด้วยโลหะประดิษฐ์ให้สวยงาม บางทีถึงแก่ฝังเพชรพลอยก็มี แต่จะต้องมีน้ำหนักได้ส่วนสัมพันธ์กับหน้าซอ สำหรับติดตรงหน้าซอตอนบนด้านซ้าย ถ้าไม่มีถ่วงหน้าแล้ว เสียงจะดังอู้อี้ไม่ไพเราะ | ![]() ซอสามสาย |
ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มี ๒ สายเรียกว่า สายเอก และสายทุ้ม ตัวกระพุ้งอุ้มเสียงเรียกว่า กระบอก เพราะมีรูปอย่างกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง ขึงหน้าด้วยหนังงูเหลือม ถ้าไม่มีก็ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัว มีทวน (คัน) เสียบกระบอกยาวขึ้นไป ตอนปลายเป็นสี่เหลี่ยม โอนไปทางหลัง มีลูกบิดสำหรับพันปลายสาย ๒ อัน เนื่องจากซอด้วงเป็นซอเสียงเล็กแหลม จึง ใช้สายที่ทำด้วยไหมหรือเอ็นเป็นเส้นเล็กๆ ส่วนคันชักนั้น ร้อยเส้นหางม้าให้เข้าอยู่ในระหว่างสาย ทั้งสอง |
![]() ซออู้ |
ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีสาย ๒ สาย ทำด้วยไหมหรือเอ็น เรียกว่า สายเอกและสายทุ้มเช่น เดียวกับซอด้วง แต่กะโหลกซึ่งเป็นเครื่องอุ้มเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามยาวให้พูอยู่ข้างบน ขึงหน้าด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว มีทวน (คัน) เสียบยาวขึ้นไปกลึงกลมตลอดปลาย มีลูกบิด สำหรับพันสาย ๒ อัน คันชักนั้นร้อยเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายทั้งสอง |
การเรียกสายของเครื่องดนตรี ทั้งเครื่องดีด และเครื่องสีว่า “เอก” และ “ทุ้ม” นี้ เรียกตามลักษณะของเสียง สายที่มีเสียงสูงก็เรียกว่า สายเอก สายที่มีเสียงต่ำก็เรียกว่า สายทุ้ม ตลอดจน เครื่องตีที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็อนุโลมเช่นเดียวกัน เครื่องที่มีเสียงสูงก็เรียกว่า เอก เครื่องที่มีเสียงต่ำ ก็เรียกว่า ทุ้ม | |
![]() กรับคู่และกรับพวง |
เครื่องตีเครื่องดนตรีที่ตีแล้วดังเป็นเพลงหรือเป็นจังหวะมีมากมาย จะกล่าวเฉพาะที่ควรจะรู้จักและ ใช้กันอยู่ทั่วไป คือ |
กรับ เป็นเครื่องตีที่เมื่อตีแล้วดัง กรับ – กรับ กรับอย่างหนึ่งเป็นไม้ไผ่ผ่าซีก ๒ อัน ถือ มือละอัน แล้วเอาทางผิวไม้ตีกัน เรียกว่า “กรับคู่” หรือ “กรับละคร” เพราะโดยมากใช้ประกอบการเล่นละครอีกอย่างหนึ่ง เป็นกรับที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง เป็นซีกหนาๆ ประกบ ๒ ข้าง แล้วมีแผ่นโลหะ หรือไม้ หรืองา ทำเป็นแผ่นบางๆ หลายๆ อันซ้อนกันอยู่ข้างใน เจาะรูตอนโคน ร้อยเชือกเหมือนพัด เรียกว่า “กรับพวง” | |
![]() ระนาดเอก |
|
ระนาด เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้หรือเหล็กหรือทองเหลืองหลายๆ อัน เรียงเป็นลำดับกัน บางอย่างก็ร้อยเชือกหัวท้ายแขวน บางอย่างก็วางเรียงกันเฉยๆระนาดเอก ลูกระนาดทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้ชิงชัง ไม้พะยูง และไม้มะหาด ลูกระนาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง ตัดให้มีความยาวลดหลั่นกันตามลำดับของเสียง โดยปกติมี ๒๑ ลูก เรียงเสียงต่ำสูงตามลำดับ ลูกระนาดทุกลูกเจาะรูร้อยเชือกหัวท้ายแขวนบนรางซึ่งมีรูปโค้งขึ้น มีเท้า รูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางสำหรับตั้ง ไม้สำหรับตีมี ๒ อย่างคือ ไม้แข็ง (เมื่อต้องการเสียงดังแกร่ง กร้าว) และไม้นวม (เมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล) | |
![]() ระนาดทุ้ม |
|
ระนาดทุ้ม ลูกระนาดเหมือนระนาดเอก แต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก รางที่แขวนนั้น ด้านบนโค้งขึ้น แต่ด้านล่างตรงขนานกับพื้นราบ มีเท้าเล็กๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมการเทียบเสียงระนาดเอก และระนาดทุ้ม เมื่อต้องการให้สูงต่ำ ใช้ขี้ผึ้งผสมกับผงตะกั่ว ติดตรงหัวและท้ายด้านล่าง ถ่วงเสียงตามต้องการ |
ระนาดเอกเหล็ก ลูกระนาดทำด้วยเหล็ก วางเรียงบนราง ไม่ต้องเจาะรูร้อยเชือกมี ๒๐ ลูก หรือมากกว่านั้น ถ้าลูกระนาดทำด้วยทองเหลืองก็เรียกว่า ระนาดทอง | ![]() ระนาดเอกเหล็ก |
ระนาดทุ้มเหล็ก เหมือนระนาดเอกเหล็กทุกประการ นอกจากลูกระนาดใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ถ้าทำด้วยทองเหลืองก็เรียก ระนาดทุ้มทอง | |
![]() ระนาดทุ้มเหล็ก |
|
การเทียบเสียงระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กนี้ ใช้ตะไบถูหัวท้ายด้านล่างและท้องลูก ระนาด ไม่ใช้ขี้ผึ้งผสมผงตะถั่วติด เมื่อต้องการให้ลูกไหนเสียงสูงขึ้น ก็ตะไบหัวหรือท้ายให้บาง ถ้าต้องการให้ต่ำก็ตะไบท้องให้บางฆ้อง ทำด้วยโลหะ เป็นแผ่นกลม ตรงกลางมีปุ่มกลมนูนขึ้นสำหรับตี ขอบนอกหักมุมลงรอบตัว เป็นรูปเหมือนฉัตร ฆ้องมีหลายชนิด คือ | |
ฆ้องโหม่ง เป็นฆ้องขนาดเขื่อง ขนาดตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ถึง ๔๕ เซนติเมตร โดยปกติใช้แขวนไม้ขาหยั่ง ๓ อัน หรือทำเป็นรูปอย่างอื่น ตีด้วยไม้ซึ่งพันด้วย ผ้าเป็นปุ่มตอนปลาย เสียงดังโหม่ง – โหม่ง จึงเรียกชื่อตามเสียง | ![]() ฆ้องโหม่ง |
ฆ้องวงใหญ่มี ๑๖ ลูก ขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดับ ลูกต้นขนาดใหญ่ เสียงต่ำ อยู่ทาง ซ้ายของผู้ตี ลูกยอดขนาดเล็ก เสียงสูง อยู่ทางขวาของผู้ตี ทุกลูกผูกบนร้านซึ่งทำเป็นวงรอบตัว คนตี เว้นด้านหลังไว้ ผู้ตีนั่งในกลางวง ตีด้วยไม้ที่ทำด้วยแผ่นหนังหนา ตัดเป็นวงกลม มีด้าม เสียบตรงรูกลางแผ่นหนังฆ้องวงเล็ก รูปร่างลักษณะเหมือนฆ้องวงใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น มีจำนวนลูกฆ้อง ๑๘ ลูกการเทียบเสียงฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็กนี้ ใช้ขี้ผึ้งผสมกับผงตะกั่ว ติดตรงด้านล่างของ ปุ่มฆ้อง เพื่อให้ได้เสียงสูงต่ำตามต้องการ | |
![]() ฆ้องวงเล็ก |
|
ฉิ่ง ทำด้วยโลหะหล่อหนา รูปเหมือนฝาชี ปากกว้างประมาณ ๖ เซนติเมตร มีรูตรงกลาง สำหรับร้อยเชือก สำรับหนึ่งมี ๒ อัน เรียกว่า คู่ ตีให้ทางปากเข้ากระทบประกบกันดัง ฉิ่ง – ฉับ | |
ฉาบ ทำด้วยโลหะหล่อ บางกว่าฉิ่ง รูปเหมือนฉิ่งแต่มีชานต่อออกไปรอบตัว สำรับหนึง มี ๒ อัน เรียกว่า คู่ เหมือนกัน ฉาบนี้มี ๒ ขนาด อย่างเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๓ เซนติเมตร เรียกว่า “ฉาบเล็ก” อย่างใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เรียกว่า “ฉาบใหญ่” | ![]() ฉาบเล็กและใหญ่ |
กลองทัด เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ท่อน กลึงให้ได้รูปและสัดส่วน ภายในขุดเป็นโพรง ขึง หน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึงด้วยหมุด (เรียกว่าแส้) ขนาดหน้ากลองเส้นผ่านศูนย์ กลางประมาณ ๔๖ เซนติเมตร เท่ากันทั้งสองหน้า ตัวกลองยาวประมาณ ๕๑ เซนติเมตร มีหู สำหรับแขวนเรียกว่า หูระวิง ๑ หู ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย ก่อนจะใช้ต้องติดข้าวสุกผสมกับขี้เถ้าบดให้เข้ากัน ติดตรงกลางหน้าล่างซึ่งไม่ได้ใช้ตี เพื่อ ให้เสียงนุ่มนวลขึ้น ใช้ตีด้วยไม้ท่อนยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร | |
![]() กลองทัด |
|
กลองแขก เป็นกลองที่มีรูปร่างยาวประมาณ ๕๗ เซนติเมตร ขึงหน้าด้วยหนังแพะหรือ หนังลูกวัว หน้าข้างหนึ่งใหญ่ กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เรียกว่า “หน้ารุ่ย” หน้าข้างเล็กกว้าง ประมาณ ๑๗ เซนติเมตร เรียกว่า “หน้าต่าน” มีสายโย่งเร่งเสียงถึงกันทั้งสองหน้าห่างๆ ทำด้วย หวายผ่าซีก และอีกเส้นหนึ่งพันยึดสายเป็นคู่ๆ รอบกลองเรียกว่า รัดอก สำรับหนึ่งมี ๒ ลูก ลูก เสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย ใช้ตีด้วยมือทั้งสองหน้า |
![]() โทนมโหรี |
โทน เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว รูปร่างตอนต้นโต แล้วค่อยเรียวลงไป ตอนสุดผาย ออกนิดหน่อย มีสายโยงเร่งเสียงจากหน้ามาถึงคอ ซึ่งมีอยู่ ๒ อย่างคือ โทนมโหรีกับโทนชาตรี รูปร่างลักษณะต่างกันเล็กน้อย |
โทนมโหรี สำหรับใช้ในวงมโหรี ในสมัยโบราณเรียกว่า “ทับ” จึงได้เรียกทั้งสองชื่อติดกันว่า “โทนทับ” ตัวโทนทำด้วยดินเผา สายโยงเร่งเสียงมักใช้ไหมหรือเอ็น (อย่างสายซอ) หรือด้าย ขึงหน้าด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว หรือหนังงูเหลือม | |
![]() โทนชาตรี |
โทนชาตรี ตัวโทนทำด้วยไม้ สายโยงเร่งเสียงมักจะใช้หนัง ขึงหน้าด้วยหนังลูกวัวโดยมาก ทางภาคใต้มักใช้ขนาดใหญ่ ส่วนภาคกลางใช้ขนาดย่อมกว่า |
รำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว รูปร่างแบน (หรือสั้น) มี ๒ อย่าง คือ รำมะนา ลำตัด และรำมะนามโหรี รำมะนาตัดนั้นมีขนาดใหญ่ แต่จะไม่พูดถึง เพราะมิได้อยู่ในวงดนตรี จึงกล่าวแต่เฉพาะรำมะนาที่ใช้ในวงมโหรีเท่านั้น | |
![]() รำมะนา |
รำมะนาในวงมโหรี ขึงหน้าด้วยหนังลูกวัว ตรึงด้วยหมุด ตัวกลองสั้น กลึงให้ทางปาก สอบเข้า มีเส้นเชือกควั่นเป็นเกลียว ยัดหนุนริมหน้าภายใน สำหรับหมุนให้หน้าตึงขึ้น เรียกว่า “สนับ” |
ตะโพน เป็นเครื่องตีที่ขึงหนัง ๒ หน้า ตัวหุ่นทำด้วยไม้ ตรงกลางป่อง ภายในขุดเป็นโพรง หนังที่ขึงหน้าเจาะรูรอบ มีเส้นหนังเล็กๆ ควั่นเป็นเกลียวถัก เรียกว่า “ไส้ละมาน” ใช้หนังตัดเป็นแถบเล็กๆ เรียกว่า “หนังเรียด” ร้อยไส้ละมานโยงทั้งสองหน้า เร่งเสียงตามต้องการ ตรงกลางมีหนังเรียดพันเป็น “รัดอก” วางนอนบนเท้า ซึ่งทำด้วยไม้เข้ารูปกับหน้าตะโพน หน้าใหญ่เรียกว่า “หน้าเท่ง” หน้าเล็กเรียกว่า “หน้ามัด” เวลาจะตีต้องติดข้าวสุกผสมกับขี้เถ้าทางหน้าเท่ง ถ่วงเสียงให้พอเหมาะ |
เครื่องเป่าเครื่องดนตรีไทยที่ใช้ลมเป่าแล้วดังเป็นเสียงนั้น แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ประเภท หนึ่งต้องมีลิ้นที่ทำด้วยใบไม้ หรือไม้ไผ่ หรือโลหะ สอดใส่เข้าไว้ เมื่อเป่าลมเข้าไป ลิ้นก็จะเต้นไหว ให้เกิดเสียง เรียกว่า “ปี่” อีกประเภทหนึ่งไม่มีลิ้น แต่มีรูบังคับ ทำให้ลมที่เป่าหักมุม แล้วเกิดเป็นเสียงขึ้น เรียกว่า “ขลุ่ย” ทั้งปี่และขลุ่ย ลักษณนามเรียกว่า “เลา” ซึ่งมีอยู่หลายประเภท แต่จะกล่าวเฉพาะที่ควรรู้เท่านั้น คือ | |
ปี่ใน ทำด้วยไม้ชิงชังหรือไม้พะยูง กลึงให้ป่องกลางและบานปลายทั้ง ๒ ข้างเล็กน้อย เจาะเป็นรูกลวงภายใน มีรูสำหรับปิดเปิดนิ้วให้เป็นเสียงสูงต่ำ เจาะที่ตัวปี่ ๖ รู ๔ รูบนเรียงตาม ลำดับ แล้วเว้นห่างพอควรจึงถึง ๒ รูล่าง ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลตัดกลมมน ซ้อน ๔ ชั้น ผูกติดกับ หลอดโลหะที่เรียกว่า “กำพวด” สอดกำพวดเข้าในรูปี่ด้านบนแล้วจึงเป่า | ![]() ปี่ใน ปี่กลาง และปี่นอก |
ที่เรียกว่าปี่ในนี้ มาเรียกกันเมื่อมีปี่รูปร่างอย่างเดียวกัน แต่ขนาดต่างกันเกิดขึ้น คือ ปี่ที่ย่อมกว่าปี่ใน เล็กน้อยเรียก “ปี่กลาง” และปี่ขนาดเล็กเรียกว่า “ปี่นอก” | |
ปี่ไฉน เป็นปี่ที่มี ๒ ท่อน สวมต่อกัน มีรูปเหมือนดอกลำโพง ยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร บรรเลงร่วมกับกลองชนะ ในงานพระบรมศพ พระศพเจ้านาย หรือศพที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศ | ![]() ปี่ไฉน และปี่ชวา |
ปี่ชวา รูปร่างเหมือนปี่ไฉน แต่ใหญ่กว่า ยาวประมาณ ๓๙ เซนติเมตร บรรเลงร่วมในวง เครื่องสายปี่ชวา และปี่พาทย์นางหงส์ขลุ่ย เป็นเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น ทำด้วยไม้รวก (ที่ทำด้วยไม้ชิงชังหรืองาช้างก็มี) มีรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ด้านใต้ ซึ่งทำให้ลมหักมุมลง เรียกว่า รูปากนกแก้ว รูที่สำหรับปิดเปิดนิ้วบังคับ เสียงสูงต่ำอยู่ด้านบน ๗ รู และ ด้านล่างเรียกว่า รูนิ้วค้ำ อีก ๑ รู ด้านขวามีรูสำหรับปิดเยื่อ (เยื่อ ในปล้องไม้ไผ่หรือเยื่อหัวหอม) เพื่อให้เสียงแตก (เมื่อต้องการ) ขลุ่ยรูปร่างอย่างเดียวกันนี้มี ๓ ขนาด คือ “ขลุ่ยหลิบ” ขนาดเล็ก มีเสียงสูง ยาวประมาณ ๓๖ เซนติเมตร “ขลุ่ยเพียงออ” ขนาดกลาง เสียงระดับกลาง ยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร และ “ขลุ่ยอู้” ขนาดใหญ่ มีเสียงต่ำ ยาว ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร |
ขอบคุณที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=1&chap=9&page=t1-9-infodetail01.html